วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนครั้งที่15

วัน พฤหัสบดี ที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2555
 -วันนี้อาจารย์ได้ตรวจงานและให้แก้ไขงาน
    หนังสือนิทาน มัน คือ อะไร
    บัตรคำ

คำแนะนำ
-ตัวหนังสือควรให้อยู่ตรงกลาง
-ภาพที่วาดกับคำควรให้สอดคล้องกัน

บันทึกการเรียนครั้งที่14

วันพฤหัสบดีที่ 1 เดือน มีนาคม พ.ศ.2555

วันนี้นำเสนองานต่อจากสัปดาห์ที่เเล้ว

-หัวข้อ ใน บ้าน มี อะไร

บันทึกการเรียนคั้งที่13

วันพฤหัสบดีที่ 23 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2555

นำเสนองานที่ทำเเละCommentงาน
ข้อเเนะนำในการเสนองาน
-ตัวอักษรต้องใหญ่เเละชัดเจน
-ควรหารูปภาพให้หลากหลายเพื่อให้เด็กได้เลือก
-ถ้าเด็กเขียนผิดเราควรเเนะนำเด็กให้เขียนถูก
-ภาพกับคำควรให้ตรงกัน
-ในการทำเราควรสร้างข้อตกลงกับเด็กก่อนว่าควรติดบริเวณใหน

บันทึกการเรียนครั้งที่12

วันเสาร์ ที่18 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2555

-วันนี้อาจารย์ให้ทำกิจกรรมในห้องเรียนโดยการให้นักศึกษาวาดรูปที่ตัวเองชอบ โดยทำกิจกรรมการเล่านิทานโดยให้เล่าต่อจากเพื่อนให้เป็นเรื่องเดียวกัน เพื่อฝึกการสังเกต การจดจำ



 - เด็กๆใช้ภาษาเพื่อแสดงออกถึงความรู้สึก ตลอดจนการทำความเข้าใจสิ่งแวดล้อมอย่างมีความหมายการจัดการเรียนการสอนจึงควรสอดคล้องกับธรรมชาติของคนเรา ดังกล่าวดังทัศนะของภาษารวมหรือการเรียนภาษโดยธรรมชาติ ซึ่งได้ให้จุดมุ่งหมายดังนี้
1 จุดมุ่งหมายการใช้ภาษาที่เน้นการสื่อสารอย่างมีความหมาย
2 จุดมุ่งหมายการใช้ภาษาที่เน้นการฟังเเละประสบการณ์ การอ่าน เขียน ที่เน้นการเข้าใจความหมาย
3 จุดมุ่งหมายการใช้ภาษาที่เน้นการพูดและประสบการณ์การเขียนเป็นการสร้างหรือแสดงออก

วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11 วันที่ 16/02/55

วัน พฤหัสบดี ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2555

กิจกรรมวันนี้หัวข้อ การสร้างภาพปริศนาคำทาย
1 เลือกและกำหนดสิ่งที่ต้องการให้เด็กทาย
2 วิเคราะห์ลักษณะของสิ่งที่กำหนดให้หลากหลายมากที่สุด
3 เรียงลำดับลักษณะของสิ่งที่กำหนดนั้นโดยเริ่มจากลักษณะทีของหลายๆสิ่งก็มีลักษณะเช่นนั้น
4 นำมาจัดเรียงลำดับ
5 แต่งประโยคที่มีคำซ้ำ

ตัวอย่าง

 ฉัน ตั้ง ชื่อ มัน ว่า ดิ้งด่อง
ดิ้งด่อง เป็น สิ่งมีชีวิต และ มี สี่ ขา
มันคืออะไร

เพื่อนตอบว่า''หมา''
 หมา เป็น สิ่ง มีชีวิต และมีสี่ขา
ฉันตอบว่า"ไม่ใช่"

ดิ้งด่อง เป็น สิ่ง มีชีวิต มี สี่ ขา และ ตัวโตโต
 มันคืออะไร

เพื่อนตอบว่า"ช้าง"
ช้าง เป็น สิ่ง มีชีวิต มี สี่ ขา และตัวโตโต
ฉันตอบว่า"ไม่ใช่"

ดิ้งด่อง เป็น สิ่ง มีชีวิต  มี สี่ ขา ตัว โตโต และ มี เขา
มันคืออะไร

เพื่อนตอบว่า"วัว"
 วัว เป็น สิ่ง มีชีวิต มี สี่ ขา ตัว โตโต และ มี เขา
ฉันตอบว่า"ไม่ใช่"

ดิ้งด่อง เป็น สิ่ง มีชีวิต มี สี่ ขา ตัว โตโต มี เขา และ ชอบ แช่ โคลน
มันคืออะไร

เพื่อนตอบว่า"ควาย"
 ควาย เป็น สิ่ง มีชีวิต มี สี่ ขา ตัว โตโต มี เขา และ ชอบ แช่ โคลน
ฉันตอบว่า"ใช่ ดิ้งด่อง คือ ควาย"
 ดิ้งด่อง เป็น สิ่ง มีชีวิต มี สี่ ขา ตัว โตโต มี เขา และ ชอบ แช่ โคลน
เพื่อน เก่ง จัง เลย 

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10 วันที่

*ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ติดประชุม

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9 วันที่ 02/02/55

วันพฤหัสบดีที่ 2 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2555
       ได้ฟังนิทานจาก Ebook

เทคนิคการเล่านิทาน

1. ควรทำความเข้าใจกับเนื้อเรื่องนิทานที่จะเล่าเสียก่อนโดยจินตนาการออกมา
เป็นภาพอ่านเรื่องช้าๆ เพื่อจับใจความ
2. ควรเลือกคำที่เป็นคำง่ายๆ ที่เด็กฟังหรือนึกออก เป็นภาพในจินตนาการได้
3. เมื่อในเนื้อเรื่องมีตัวละครคุยกันให้ใช้บทสนทนา เพราะทำให้เด็กตื่นเต้นกว่า
4. เริ่มต้นเรื่องให้ดีเพื่อเรียกร้องความสนใจ พยายามหลีกเลี่ยงการบรรยายและ
การอธิบายที่ไม่จำเป็น
18
5. การเล่าเรื่องควรใช้เสียงแบบสนทนากัน คือ ช้า ชัดเจน มีหนักเบา แต่ไม่ควรมี
เอ้อ อ้า ที่นี้
6. ขณะที่เล่านิทานควรจับเวลาให้ดี เว้นจังหวะตามอารมณ์ของเรื่อง เช่น ถ้าเนื้อเรื่อง
มีสิ่งเร้าใจก็พูดให้เร็วขึ้นทำท่าจริงจัง
7. นิทานที่นำมาเล่าให้ยาวพอๆกับระยะความสนใจของเด็กคือ ประมาณ 15–25 นาที
สำหรับเด็กประถมศึกษา หรือเป็นคำก็จะประมาณ 1,000 คำ

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8 วันที่ 26/01/55


วันพฤหัสบดีที่ 26 เดือน มกราคม พ.ศ.2555

       -  มนุษย์ใช้การสื่อสารระหว่างกันด้วยวิธีการหลายรุปแบบ  วิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด  คือ การใช้ภาษาพุดและการเขียน  การพัฒนาทักษะการใช้ภาษาดังกล่าว  จะช่วยให้เด็กเข้าใจและเรียนรู้สิ่งต่างๆ ในสิ่งแวดล้อมได้ดีขึ้น  ตลอดจนการแสดงออกถึงความต้องการส่งและรับข่าวสาร  การแสดงออกถึงความรู้สึกและการเข้าใจผู้อื่น      -  ฟังและพูด  โดยไม่ต้องอาศัยการสอนอย่างเป็นทางการ  การที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางภาษาจะทำให้เด็กเข้าใจ  และใช้ไวยากรณ์พื้นฐานของภาษาแม่  เมื่ออายุได้ 4 หรือ 5 ปี      -  สิ่งที่ครูสอนเด็กปฐมวัยจะต้องตระหนัก  และมีความรู้เพื่อนำไปใช้ในการช่วยพัฒนาการทางภาษาของเด็ก  ก็คือ  ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษาทั้งในด้านภาษาศาสตร์  ด้านการนำไปใช้  ตลอดจนแนวปฏิบัติในการจัดประสบการณ์ทางภาาาให้แก่เด็ก
            บลูมเเละฮาเลย์ ได้ให้ความหมายของภาษาไว้ 3 ประการคือ

 1.ภาษาเป็นสัญลักษณ์หรือรหัสที่ใช้เเทนสิ่งของ สถานที่ กิริยาอาการ เเละเหตุการณ์ต่างๆ เช่น เด็กกินขนม
2.ภาษาเป็นสัญลักษณ์ของมโนมติ เกี่ยวกับโลกหรือประมวลประสบการณ์ เช่น บ้าน ประเทศ ความโศกเศร้า
3.ภาษาเป็นระบบ ภาษามีระบบกฎเกณฑ์ที่ค่อนข้างจะคงที่ เช่น มีคำที่เป็นประธาน กริยา กรรม

    จึงสรุปได้ว่า ภาษาคือ สัญลักษณ์ที่มนุษย์ในสังคมหนึ่งๆ สร้างขึ้น เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารเเละทำความเข้าใจซึ่งกันเเละกัน

วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนครั้งที่7 วันที่ 22/01/55

วันอาทิตย์ที่ 22 เดือน มกราคม พ.ศ.2555
    - วันนี้อจารย์ได้เปิดวีดีโอจากเวปไซต์ โทรทัศน์ครูให้นักศึกษาดู  เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน(เรื่องหนูน้อยหมวกแดง)

การเล่านิทานเขาจะใช้เทคนิคในการเล่าโดยร้องเพลงะเป็นขั้นนำก่อนเล่านิทาน
และ อาจารย์ได้พูดถึงกิจกรรมหลัก  และอาจารย์ได้ถามว่าเราจะบูรณาการออกแบบกิจกรรมได้อย่างไร?   กิจกรรมสร้างสรรค์ทำให้เด็กรู้จัก ตัวละคร ฉาก และรู้จักลำดับเหตุการณ์  บทบาทครูต้องสนับสนุนเด็กให้กำลังใจเด็กเสมอ
อาจารย์ได้ใให้นักศึกษาไปหาความหมาย
ฉันทะ  วิริยะ  จิตตะ  วิมังสา  คืออะไร
และ ให้วิเคราะห์การใช้วรรณกรรมเป็นฐาน
สมัครโทรทัศน์ครูแล้วลิงค์เรื่องที่เกี่ยวกับภาษาลงบล็อก

*คัดลอกงานจาก นางสาวดาราวรรณ (เเตงวันนี้ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากอาจารย์ติดประชุม   แล้วให้มาเรียนวันอาทิตย์  ที่ 22  มกราคม  2555  แทน   ตอนบ่าย

บันทึกการเรียนครั้งที่6 วันที่ 12/01/55

วันพฤหัสบดี ที่ 12 เดือน มกราคม พ.ศ.2555

-นำเสนอ VDO การเล่านิทานให้เด็กฟังพร้อมตั้งคำถาม 3 ข้อ

บันทึกการเรียนครั้งที่5 วันที่ 05/01/55

วันพฤหัสบดี ที่ 5 มกราคม พ.ศ.2555

- วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน อาจารย์ให้นักศึกษาทำ Powerpoint  เกี่ยวกับนิทานที่นักศึกษาไปเล่าให้น้องฟังแล้วนำเสนอสัปดาห์ถัดไป

  
หลักการเลือกนิทานให้เด็ก
นงค์นุช แน่นอุดร

          การเลือกนิทานสำหรับนำมาเล่าหรืออ่านให้เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปีฟัง เป็นเรื่องที่พ่อแม่หรือครูจะต้องพิถีพิถันและพิจารณาเรื่องที่จะนำมาเล่าให้รอบคอบ ทั้งนี้เพราะการฟังนิทานเป็นกิจกรรมที่จะส่งผลกระทบถึงจิตใจและพฤติกรรมของเด็ก นิทานที่ควรเลือกมาเล่าให้เด็กฟัง มีดังนี้
          1. นิทานจะต้องเหมาะสมกับวัย ความพร้อมและวุฒิภาวะของเด็ก เด็กยิ่งเล็ก เนื้อเรื่องของนิทานจะต้องเป็นเรื่องที่แสดงข้อเท็จจริงเพื่อให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดที่ถูกต้อง สำหรับเด็กโตครูควรนำเรื่องที่แปลกๆ มหัศจรรย์เพ้อฝันมาเล่าและไม่ควรจะเป็นเรื่องที่ซ้ำกับเรื่องเดิม
          2. นิทานควรจะได้มีส่วนในการกระตุ้น ปลุกเร้าจินตนาการของเด็ก เนื้อหาควรจะมีสิ่งที่เป็นสุนทรียภาพความงดงาม ตื่นตาตื่นใจปรากฏอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่เด็กอยู่ในช่วงอายุ 4 – 6 ขวบ ซึ่งเป็นช่วงที่เด็กกำลังพัฒนาความคิดเชิงจินตนาการ ดังนั้นการเลือกนิทานมาเล่าหรืออ่านให้เด็กวัยนี้ฟัง ควรจะเลือกเรื่องที่มีการพรรณนาถึงความงดงามของธรรมชาติ ลักษณะที่แปลกประหลาดน่าพิศวงของสัตว์ ความงดงามของนางฟ้าหรือความน่าเกลียดน่ากลัวของแม่มด ความน่ารักน่าเอ็นดูของสัตว์ตัวเล็กๆ ฯลฯ
          3. นิทานที่นำมาเล่าหรืออ่านให้เด็กปฐมวัยฟัง จะต้องเป็นวรรณกรรมที่ดีทั้งโครงเรื่องพฤติกรรมที่เด่นชัดของตัวละคร แนวความคิดที่สร้างสรรค์ และภาษาที่เหมาะสมชัดเจน ง่าย และเป็นภาษาที่สุภาพเสนอแนะวิธีการแก้ปัญหาแก่เด็กๆ ในการเผชิญอุปสรรคและความยากลำบากด้วยวิธีการที่สร้างสรรค์ใช้ความพากเพียร มานะอดทน และสติปัญญาในการแก้ไขปัญหา
          4. เลือกนิทานที่มีเนื้อหาหลากหลาย ตัวละครเอกอยู่ในวัยเดียวกับเด็ก แม้ว่าตัวละครจะเป็นสัตว์ก็ต้องมีพฤติกรรมที่มีลักษณะเป็นเด็กเช่นเดียวกับผู้ฟัง ในการเลือกนิทานมาเล่าหรืออ่านแต่ละครั้งควรจะให้มีเนื้อเรื่องที่แตกต่างกันออกไปหลายๆ แนว สำหรับเด็กเล็กๆ อาจจะต้องการฟังเรื่องเดิมซ้ำๆ ได้ แต่ถ้าเป็นเด็กที่โตแล้วการนำเรื่องแนวเดียวกันมาเล่าบ่อยๆ จะทำให้เขาเบื่อหน่ายได้
          5. นิทานที่ดีควรจะมีการแทรกบทตลกขบขัน แต่ต้องเป็นบทตลกที่ไม่หยาบคายสิ่งที่ครูควรระมัดระวังเป็นอย่างยิ่งคืออย่าเลือกนิทานที่มีบทตลกขบขันที่มีลักษณะเป็นการ กลั่นแกล้งให้ผู้อื่นเจ็บปวด เป็นบทตลกที่อยู่บนความอับอายของผู้อื่น ซึ่งลักษณะเช่นนี้อาจจะทำให้เด็กเอาอย่างได้
          6. นิทานที่มีเนื้อหาสาระที่มุงให้เด็กขยายประสบการณ์ ได้รับข้อมูลข่าวสารแปลกใหม่ก็เป็นนิทานที่ครูสมควรจะเลือกมาเล่าให้เด็กๆ ฟังโดยพิจารณาให้เหมาะสมกับช่วงอายุ วุฒิภาวะและประสบการณ์พื้นฐานเดิมของเด็ก
          7. นิทานที่สมควรแก่การเลือกมาเล่าหรืออ่านให้เด็กฟังควรจะเป็นนิทานที่ช่วยปลูกฝังลักษณะนิสัยที่ดีงามให้แก่เด็กๆ ลักษณะตัวเอกที่ปรากฏในนิทานจะต้องเป็นตัวแบบที่ดีสำหรับเด็กๆ หรืออาจจะเป็นตัวแบบที่มีพฤติกรรมไม่ดีในเบื้องต้น แล้วกลับแปรเปลี่ยนนิสัยไปในทางที่ถูกต้องดีงาม มีจรรยามารยาทน่าชื่นชม และมีพฤติกรรมที่สังคมยอมรับในที่สุด
          สิ่งสำคัญที่สุดในการอ่านหรือเล่านิทานให้เด็กฟังก็คือ สายสัมพันธ์คนเล่ากับเด็กดังนั้นเด็กที่ได้ฟังนิทานบ่อยๆจะเติบโตมาเป็นเด็กที่มีพัฒนาการทางอารมณ์ดี สามารถปรับตัวและอยู่ร่วมกับสังคมได้ดีกว่าเด็กที่ไม่ได้รับการเอาใจใส่จากพ่อแม่ผู้ปกครอง

ที่มา http://thaifairytale.blogspot.com/2010/06/blog-post.html

บันทึกการเรีนครั้งที่4 วันที่ 29/12/54

วันพฤหัสบดีที่ 29 เดือน ธันวาคม พ.ศ.2554

 อาจารย์ให้ส่งงานที่สั่งไว้เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว แล้วให้แต่ละคนเขียนภาษาถิ่นของตัวเองส่ง อาจารย์ปล่อยก่อนเวลาเพราะว่าอาจารย์ จะไปร่วมกิจกรรมงานปีใหม่ของน้องๆที่โรงเรียนสาธิตจันทรเกษม

บันทึกการเรียนครั้ง3 วันที่ 22/12/54

วันพฤหัสบดี ที่ 22 เดือน ธันวาคม พ.ศ.2554

ภาษาสำหรับเด็ก คือ เป็นเครื่องมือในการสื่อสาร ทั้งการฟัง พูด อ่าน เขียน ที่ทำให้สามารถเข้าใจในความหมาย รู้ถึงความต้องการเพราะเด็กอาจจะไม่เเสดงออกมาทางคำพูดเเต่จะเเสดงออกมาทางจากท่าทางกิริยา

งาน
-สัปดาห์หน้าให้นำเสนอคลิป VDO เล่านิทานให้เด็กฟังโดยตั้งคำถาม 3 ข้อพร้อมสังเกตพฤติกรรมของเด็ก

บันทึกการเรียนครั้งที่2 วันที่ 16/12/54

วันพฤหัสบดีที่ 15 เดือน ธันวาคม พ.ศ.2554

พัฒนนาการคือ การเปลี่ยนเเปลงที่เป็นไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมเเละการเลี้ยงดู

วิธีการเรียนรู้ของเด็ก 

         - สังเกตุ

         - สัมผัส
         - ฟัง
         - ดมกลิ่น
         - ชิมรส
สมอง คือ การรับรูข้อมูลโดยการผ่านประสาทสัมผัส ทั้ง 5โดยการใช้สติปัญญาการคิดเเละสามารถพัฒนาเป็นไปตามลำดับขั้นตอน

 การเรียนรู้ของเด็ก คือ การที่ให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เเละควรให้เด็กได้มีอิสระในการ ลองผิดลองถูก เลือก การตัดสินใจด้วยตัวของเด็กเอง

งาน

-ให้สัมภาษณ์เด็กโดยใช้คำถามอะไรก็ได้

บันทึกการเรียนครั้งที่ 1 วันที่ 8/12/54

วัน พฤหัสบดี ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.2555

ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ติดประชุม